วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หมวดภาษาไทย เริ่องโวหาร


โวหาร
โวหาร หมายถึง หมายถึง ถ้อยคำที่พูดกันเป็นชั้นเชิง ไม่พูดตรงๆ เเต่มีความหมายแฝงอยู่ในคำพูดนั้นๆ และผู้ฟังย่อมเข้าใจความหมายได้ทันที ถ้าคำพูดนั้นเป็นที่รู้จัก และใช้กันอย่างแพร่หลายจนปัจจุบัน
การใช้โวหาร คือ การแสดงข้อความในทำนองต่าง ๆ เพื่อให้ข้อความนั้นได้เนื้อความ หรือได้ใจความดี มีความหมายชัดเจน เหมาะสม น่าอ่าน
โวหาร มี ๕ ลักษณะ คือ
๑. บรรยายโวหาร  ๒. พรรณนาโวหาร  ๓. เทศนาโวหาร  ๔. อุปมาโวหาร  ๕. สาธกโวหาร
๑. บรรยายโวหาร
หมายถึง โวหารที่ใช้ในการอธิบาย เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างละเอียด แจ่มแจ้ง การเรียบเรียง และการใช้ถ้อยคำ จึงมักเลือกใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายตรงไปตรงมา กะทัดรัด ชัดเจน
ประเภทของบรรยายโวหาร

 1. การเล่าเรื่องต่างๆ เช่น เล่านิทานซึ่งเล่าต่อ ๆ กันมา ได้แก่ เรื่องศรีธนญชัย เรื่องนิทานอีสป
 2. ประวัติต่างๆ เช่น พระราชประวัติ ประวัติบุคคล ประวัติสถานที่  3. ตำนานต่างๆซึ่งได้แก่ ประวัติแกมนิทาน เช่น ตำนานพระแก้วมรกต เป็นต้น  4. รายงานหรือจดหมายเหตุ ที่เล่าถึงการเดินทาง การตรวจสถานที่หรือกิจการอื่นๆ  

ตัวอย่าง บรรยายโวหารแบบร้อยแก้ว
     “ฉันยืนต้นอยู่ในป่าลึก ฉันมีลำต้นสูงใหญ่ กิ่งก้านใบแน่นหนาและแผ่กว้าง แสงอาทิตย์ ไม่อาจส่องลอดได้ เบื้องล่างจึงร่มรื่น ลำธารน้อย ๆ ไหลผ่านใกล้ลำต้นฉันไป น้ำในลำธาร ใสจนเห็นกรวดทราย ท้องธารและปลาว่ายเวียน ทุกวันจะมีสัตว์ป่านานาชนิดมากินน้ำ ที่ลำธารสายนี้ บางตัวจะอาศัยใต้ร่มใบของฉันนอนหลับอย่างเป็นสุข                                                            
                                                                                             (จาก ฉันคือต้นไม้ ของไมตรี ลิมปิชาติ)
ตัวอย่าง  บรรยายโวหารแบบร้อยแก้ว
 โครงเรื่องของเรื่องรามเกียรติ์กล่าวถึง ท้าวทศรถกษัตริย์ผู้ครองกรุงอโยธยาได้เคยทรงสัญญาต่อนางไกยเกษี พระมเหสีองค์หนึ่งว่าจะทูลขออะไรก็ได้ เพราะครั้งหนึ่งนางได้ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากอันตรายในสงคราม เมื่อท้าวทศรถจะอภิเษกให้พระรามซึ่งเป็นโอรสที่เกิดจากพระมเหสีกองค์หนึ่งขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ นางไกยเกษีจึงทูลขอให้ท้าวทศรถยกราชสมบัติให้พระพรตโอรสของนาง

 และขอให้พระรามออกไปบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า ๑๔ ปี
อนึ่ง บรรยายโวหารนี้ นอกจากจะแต่งเป็นร้อยแก้วแล้วยังใช้แต่งเป็นคำประพันธ์ด้วยเหมือนกัน 
เนื้อเรื่องที่จะแต่งก็เป็นไปตามหัวข้อข้างต้นเหมือนกัน
ตัวอย่าง บรรยายโวหารแบบร้อยกรอง

     แถลงลักษณ์หลักฐานบุราณเรื่อง         บุรุษเรืองนามตระหนักเกียรติอักโข
 นามสมญาว่าสมเด็จเจ้าแตงโม                ยศภิญโญปัญญาเลิศประเสริฐชี 
 ตามระบิลว่าแผ่นดินบรมโกศ                   ท้าวปราโมทย์โปรดปราชญ์เฉลิมศร                                       ประทานฐานาดรเจ้ากูชี                             ที่สุวรรณมุนีพระอาจารย์     






๒. พรรณนาโวหาร
คือ โวหารที่กล่าวถึงความงามของธรรมชาติ สถานที่ หรือ ความรู้สึกนึกคิดอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้ง และเกิดอารมณ์ความรู้สึก คล้อยตาม โดยใช้ถ้อยคำที่มีความไพเราะ และความหมายที่ลึกซึ้ง น่าสนใจ ให้ผู้อ่าน ประทับใจ
การใช้พรรณนาโวหารมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้

 1. เพื่อให้ผู้อ่านผู้ฟังมองเห็นภาพได้ชัดเจน   
 2. เพื่อเล่าสำนวนให้เพราะพริ้ง
พรรณนาโวหาร แตกต่างจากบรรยายโวหารที่การพรรณนาไม่มีการดำเนินเรื่่องที่ีต่อเนื่อง
ข้อความที่ยกขึ้นเป็นพรรณนาโวหาร มีดังนี้คือ

๑. ยอพระเกียรติ คือ พรรณนายกย่องเกียรติคุณต่างๆ เช่น ชมบ้านเมืองว่ามีปราสาทราชฐานงามสง่า
     มีป้อมกำแพงแข็งแรง ชมพระเจ้าแผ่นดินว่าทรงทศพิธราชธรรมมีพระเดชปราบศัตรูราบคาบ ชมฝูง
    ช่างต่างๆ ชมรูปลักษณะ เช่น ชมความงามของสตรี  
  ๒. ภูมิประเทศ  เช่น รำพันถึงสถานที่อยู่ว่า อยู่ที่ไหนติดต่อกับอะไร มีสระ มีสวน มีตึกเป็นอย่างไร หรือ
      รำพันถึงป่ามีต้นไม้ มีเขา มีลำธาร ฯลฯ   ๓. ความคิดต่างๆ เช่น รำพันถึงความรัก ความโศกเศร้า
      ความพยาบาท หรือรำพันถึงกิจการที่เคยทำมาต่างๆ นานา 
ตัวอย่าง  พรรณนาโวหารแบบร้อยแก้ว
 แม่นกและพ่อนกบินถลาเข้ามาด้วยความโกรธ มันบินวนเวียนเหนือยอดไม้และส่งเสียงร้องดังสะท้านคล้ายหัวใจจะเเตกสลาย
                                                                                                     (นิคม รายยวา)

ตัวอย่าง พรรณนาโวหารแบบร้อยกรอง
   แสงสูรย์สาดส่องแสง       จรัสแจ้งจรูญตา   
   เทียนทองส่องทาบฟ้า       ประโลมหล้าภิรมย์ชม 
ตัวอย่าง พรรณนาโวหารแบบร้อยกรอง
แวววาบปลาบสายฟ้า        ผสานวาตะโชยชาย  
เปล่าเปลี่ยวอยู่เดียวดาย     วิเวกแว่วคะนึงใน

๓. เทศนาโวหาร
เป็นโวหารที่แสดงการสั่งสอน หรือชักจูงให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตาม ชี้แนะคุณและโทษสิ่งที่ควรปฏิบัติ หรือแสดงทัศนะในข้อสังเกต ในการเขียนผู้เขียนต้องใช้ เหตุผลมาประกอบให้ผู้อ่านเกิดความเชื่อมั่น เกิดความรู้สึกด้วยตนเอง
ตัวอย่าง  เทศนาโวหารแบบร้อยแก้ว
     พระพุทธองค์ตรัสว่าดูก่อนภราดา พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ได้ยังจักร แห่งธรรมอันประเสริฐให้หมุน ใกล้อิสิปตะนะมฤคทายวัน จังหวัดพาราณสี ก็และจักร แหล่งธรรม นั้นอันสมณะ
หรือพราหมณ์ เทวดาหรือมาร พรหม หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลกนี้ ขัดขวางไว้มิให้หมุน
     พระธรรมที่ทรงประกาศ คือ ธรรมอันให้เห็นแจ้งความจริงอย่างยิ่งสี่ประการ สี่ประการ นั้นคืออะไร ได้แก่ ความจริงอย่างยิ่ง คือ ทุกข์ ความจริงอย่างยิ่งคือเหตุของทุกข์ ความจริง อย่างยิ่งได้แก่ การดับทุกข์ทั้งสิ้น และความจริงอย่างยิ่ง คือ ทางที่ไปถึงความดับทุกข์นั้น  ดูก่อนภราดา ความจริงอย่างยิ่ง คือ ทุกข์นั้นอย่างไร ได้แก่ ความเกิดมานี้เป็นทุกข์ ความชีวิตล่วงไป ๆ เป็นทุกข์ ความเจ็บป่วยเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความอาลัย ความคร่ำครวญ ความทนลำบาก ความเสียใจ และความคับใจ ล้วนเป็นไม่ได้ สมประสงค์ เป็นทุกข์ รวมความบรรดาลักษณะต่าง ๆ เพื่อความยึดถือผูกพันย่อมนำทุกข์มาให้ทั้งสั้น ดูก่อนภราดา นี่แหละความจริงอย่างยิ่งคือทุกข์                   
                                                                                  (เสฐียรโกเศศ – นาคะประทีป)                                                                                               
ตัวอย่าง  เทศนาโวหารแบบร้อยกรอง
             
          แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์             ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
          มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน              ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน
          แม้นใครรักรักมังชังชังตอบ             รู้อะไรใดไม่สู้รู้วิชา
                                                                                   (พระอภัยมณี)
          คำประพันธ์นี้ มาจากเรื่องพระอภัยมณี เป็นการสอนหลักในการคบคน รู้จักพึ่งตนเองรู้จักการ
           ใฝ่หาความรู้และการรักษาตัว
            ๔. อุปมาโวหาร
             คือ การใช้โวหารเปรียบเทียบ ประกอบข้อความ เพื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้เข้าใจ
                      เรื่องราวได้แจ่มแจ้ง     การใช้โวหารนี้มีลักษณะการใช้หลายลักษณะ ดังนี้
             ก. เปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกันสองสิ่ง มักมีคำว่า เหมือน ดุจ คล้าย เปรียบอย่าง ดัง ฯลฯ
                 เป็นตัวเชื่อมคำอุปมาอุปไมยให้สอดคล้องกัน 
                (อุปไมย แปลว่า ที่กล่าวก่อน อุปมา แปลว่า ที่กล่าวเปรียบ) 
                 เช่น   ดีใจเหมือนได้แก้ว       เล่าปี่ดีใจเหมือนปลาได้น้ำ
             ข. เปรียบเทียบโดยการโยงความคิดจากสิ่งหนึ่งไปยังสิ่งหนึ่ง เป็นการเปรียบโดยนัย ต้องอาศัยการ
                 ตีความ
                  เช่น        ครูเหมือนเรือจ้าง           ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังไทยทั้งชาติ
              ค. เปรียบเทียบโดยการซ้ำคำ
                  เช่น    จะมารักเหากว่าผม          จะมารักลมกว่าน้ำ              จะมารักถ้ำกว่าเรือน      
                            จะมารักเดือนยิ่งกว่าตะวัน         จะมารักตัวออกเฒ่ายิ่งกว่าตัวเองเล่า
               ง. เปรียบเทียบโดยการยกตัวอย่างประกอบ
                    เช่น    พระราชา ๑ หญิง ๑ ไม้เลื้อย ๑ ย่อมรักผู้คนและสิ่งที่อยู่ใกล้ ๆ
               จ. เปรียบความขัดแย้งหรือเปรียบสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม คือ การนำสิ่งที่ตรงกันข้าม มาเปรียบกัน
                    เช่น    เปรียบน้ำกับไฟ     ดินกับไฟ      อิเหนากับจรกา   ฯลฯ
                     เช่น    ถึงตัวไกลใจอยู่เป็นคู่ชื่น       ผู้ที่มีเพื่อนมากคือผู้ที่ไม่มีเพื่อนเลย
                 ฉ. เปรียบเทียบโดยใช้ชื่อเทียบเคียง
                      เช่น    ปากกามีอำนาจกว่าคมดาบ      จากเปลไปถึงหลุมฝังศพ
                  ตัวอย่าง     อุปมาโวหารในคำประพันธ์ร้อยกรอง
                                             ผีเสื้อเหลือจะอด                                  แค้นโอรสราวกับไฟไหม้มังสา
              
                               ช่างหลอกหลอนผ่อนผันจำนรรจา      เเม้นจะว่าโดยดีมิเห็นฟัง
                                                      
                      (จาก พระอภัยมณี ตอน หนีนางผีเสื้อ ของสุนทรภู่)
          ๕. สาธกโวหาร
                 คือ โวหารที่ยกตัวอย่างมาประกอบข้อความ เรื่องราวให้เข้าใจ แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น อาจเป็นการกล่าว
                      อ้างถึงเรื่องจริง 
              ตัวอย่าง   สาธกโวหารแบบร้อยแก้ว
                        เมื่อเราซื้อสิ่งอันใหม่ เรามักยังคงจำของชิ้นเก่าที่มีคุณภาพดีได้ เเละเมื่อเราซื้อเสื้อผ้าชุด
                         ใหม่หรือรองเท้าคู่ใหม่เรามักจะรู้สึกว่ามันใส่ไม่สบายเท่าของเก่าของเรา
              ตัวอย่าง   สาธกโวหารแบบร้อยกรอง
        เป็นมนุษย์สุดดีที่ทำชอบ
จงประกอบกรรมดีไว้ไม่สูญหาย
    มีเรื่องจะทำดีได้มากมาย
อย่าเหนื่อยหน่ายท้อใจใฝ่ทำดี
    วีรชนของไทยใจกล้าหาญ
 ได้ต่อสู้ศัตรูพาลสมศักดิ์ศรี
    แม่ย่าโมท้าวสุรนารี
 ยอดสตรีนามระบือลือทั่วไทย
                                                                           (สุจริต เพียรชอบ)

            คำประพันธ์นี้ กล่าวถึงความตั้งใจในการทำความดีและความกล้าหาญ โดยยกท้าวสุรนารี 
          ขึ้นมาเป็นตัวอย่าง
         แต่งโดย  นางสุจริต เพียรชอบ
         สรุป
           การใช้โวหาร คือ การแสดงข้อความในทำนองต่าง ๆ เพื่อให้ข้อความนั้นได้เนื้อความดี
         อ้างอิง



         




         
      





       



                                                                                                                                 (พระอภัยมณี)
คำประ

ภาษาไทย เรื่องโวหาร


โวหาร
โวหาร หมายถึง หมายถึง ถ้อยคำที่พูดกันเป็นชั้นเชิง ไม่พูดตรงๆ เเต่มีความหมายแฝงอยู่ในคำพูดนั้นๆ และผู้ฟังย่อมเข้าใจความหมายได้ทันที ถ้าคำพูดนั้นเป็นที่รู้จัก และใช้กันอย่างแพร่หลายจนปัจจุบัน
การใช้โวหาร คือ การแสดงข้อความในทำนองต่าง ๆ เพื่อให้ข้อความนั้นได้เนื้อความ หรือได้ใจความดี มีความหมายชัดเจน เหมาะสม น่าอ่าน
โวหาร มี ๕ ลักษณะ คือ
๑. บรรยายโวหาร
 ๒. พรรณนาโวหาร
 ๓. เทศนาโวหาร
 ๔. อุปมาโวหาร
 ๕. สาธกโวหาร
๑. บรรยายโวหาร
หมายถึง โวหารที่ใช้ในการอธิบาย เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ อย่างละเอียด แจ่มแจ้ง การเรียบเรียง และการใช้ถ้อยคำ จึงมักเลือกใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายตรงไปตรงมา กะทัดรัด ชัดเจน
ประเภทของบรรยายโวหาร
 1. การเล่าเรื่องต่างๆ เช่น เล่านิทานซึ่งเล่าต่อ ๆ กันมา ได้แก่ เรื่องศรีธนญชัย เรื่องนิทานอีสป
 2. ประวัติต่างๆ เช่น พระราชประวัติ ประวัติบุคคล ประวัติสถานที่
 3. ตำนานต่างๆซึ่งได้แก่ ประวัติแกมนิทาน เช่น ตำนานพระแก้วมรกต เป็นต้น
 4. รายงานหรือจดหมายเหตุ ที่เล่าถึงการเดินทาง การตรวจสถานที่หรือกิจการอื่นๆ  


ตัวอย่าง บรรยายโวหารแบบร้อยแก้ว
     “ฉันยืนต้นอยู่ในป่าลึก ฉันมีลำต้นสูงใหญ่ กิ่งก้านใบแน่นหนาและแผ่กว้าง แสงอาทิตย์ ไม่อาจส่องลอดได้ เบื้องล่างจึงร่มรื่น ลำธารน้อย ๆ ไหลผ่านใกล้ลำต้นฉันไป น้ำในลำธาร ใสจนเห็นกรวดทราย ท้องธารและปลาว่ายเวียน ทุกวันจะมีสัตว์ป่านานาชนิดมากินน้ำ ที่ลำธารสายนี้ บางตัวจะอาศัยใต้ร่มใบของฉันนอนหลับอย่างเป็นสุข
                                                                                                                        (จาก ฉันคือต้นไม้ ของไมตรี ลิมปิชาติ)
ตัวอย่าง  บรรยายโวหารแบบร้อยแก้ว
 
โครงเรื่องของเรื่องรามเกียรติ์กล่าวถึง ท้าวทศรถกษัตริย์ผู้ครองกรุงอโยธยาได้เคยทรงสัญญาต่อนางไกยเกษี พระมเหสีองค์หนึ่งว่าจะทูลขออะไรก็ได้ เพราะครั้งหนึ่งนางได้ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากอันตรายในสงคราม เมื่อท้าวทศรถจะอภิเษกให้พระรามซึ่งเป็นโอรสที่เกิดจากพระมเหสีกองค์หนึ่งขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ นางไกยเกษีจึงทูลขอให้ท้าวทศรถยกราชสมบัติให้พระพรตโอรสของนาง และขอให้พระรามออกไปบำเพ็ญพรตอยู่ในป่า ๑๔ ปี
อนึ่ง บรรยายโวหารนี้ นอกจากจะแต่งเป็นร้อยแก้วแล้วยังใช้แต่งเป็นคำประพันธ์ด้วยเหมือนกัน เนื้อเรื่องที่จะแต่งก็เป็นไปตามหัวข้อข้างต้นเหมือนกัน
ตัวอย่าง บรรยายโวหารแบบร้อยกรอง
     แถลงลักษณ์หลักฐานบุราณเรื่อง         บุรุษเรืองนามตระหนักเกียรติอักโข
 นามสมญาว่าสมเด็จเจ้าแตงโม                ยศภิญโญปัญญาเลิศประเสริฐชี
 ตามระบิลว่าแผ่นดินบรมโกศ                   ท้าวปราโมทย์โปรดปราชญ์เฉลิมศร
 ประทานฐานาดรเจ้ากูชี                           ที่สุวรรณมุนีพระอาจารย์     

๒. พรรณนาโวหาร
คือ โวหารที่กล่าวถึงความงามของธรรมชาติ สถานที่ หรือ ความรู้สึกนึกคิดอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้ง และเกิดอารมณ์ความรู้สึก คล้อยตาม โดยใช้ถ้อยคำที่มีความไพเราะ และความหมายที่ลึกซึ้ง น่าสนใจ ให้ผู้อ่าน ประทับใจ
การใช้พรรณนาโวหารมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
 1. เพื่อให้ผู้อ่านผู้ฟังมองเห็นภาพได้ชัดเจน  
 2. เพื่อเล่าสำนวนให้เพราะพริ้ง

พรรณนาโวหาร แตกต่างจากบรรยายโวหารที่การพรรณนาไม่มีการดำเนินเรื่่องที่ีต่อเนื่อง
ข้อความที่ยกขึ้นเป็นพรรณนาโวหาร มีดังนี้คือ
1. ยอพระเกียรติ คือ พรรณนายกย่องเกียรติคุณต่างๆ เช่น ชมบ้านเมืองว่ามีปราสาทราชฐานงามสง่า มีป้อมกำแพงแข็งแรง ชมพระเจ้าแผ่นดินว่าทรงทศพิธราชธรรมมีพระเดชปราบศัตรูราบคาบ ชมฝีมือช่างต่างๆ ชมรูปลักษณะ เช่น ชมความงามของสตรี  
 2. ภูมิประเทศ  เช่น รำพันถึงสถานที่อยู่ว่า อยู่ที่ไหนติดต่อกับอะไร มีสระ มีสวน มีตึกเป็นอย่างไร หรือรำพันถึงป่ามีต้นไม้ มีเขา มีลำธาร ฯลฯ  
3. ความคิดต่างๆ เช่น รำพันถึงความรัก ความโศกเศร้า ความพยาบาท หรือรำพันถึงกิจการที่เคยทำมาต่างๆ นานา 

ตัวอย่าง  พรรณนาโวหารแบบร้อยแก้ว
 แม่นกและพ่อนกบินถลาเข้ามาด้วยความโกรธ มันบินวนเวียนเหนือยอดไม้และส่งเสียงร้องดังสะท้านคล้ายหัวใจจะเเตกสลาย
                                                                                                                 
(นิคม รายยวา)
ตัวอย่าง พรรณนาโวหารแบบร้อยกรอง
   แสงสูรย์สาดส่องแสง       จรัสแจ้งจรูญตา  
   เทียนทองส่องทาบฟ้า       ประโลมหล้าภิรมย์ชม 
ตัวอย่าง พรรณนาโวหารแบบร้อยกรอง
แวววาบปลาบสายฟ้า        ผสานวาตะโชยชาย
เปล่าเปลี่ยวอยู่เดียวดาย     วิเวกแว่วคะนึงใน
๓. เทศนาโวหาร
เป็นโวหารที่แสดงการสั่งสอน หรือชักจูงให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตาม ชี้แนะคุณและโทษสิ่งที่ควรปฏิบัติ หรือแสดงทัศนะในข้อสังเกต ในการเขียนผู้เขียนต้องใช้ เหตุผลมาประกอบให้ผู้อ่านเกิดความเชื่อมั่น เกิดความรู้สึกด้วยตนเอง
ตัวอย่าง  เทศนาโวหารแบบร้อยแก้ว
     พระพุทธองค์ตรัสว่าดูก่อนภราดา พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ได้ยังจักร แห่งธรรมอันประเสริฐให้หมุน ใกล้อิสิปตะนะมฤคทายวัน จังหวัดพาราณสี ก็และจักร แหล่งธรรม นั้นอันสมณะหรือพราหมณ์ เทวดาหรือมาร พรหม หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลกนี้ ขัดขวางไว้มิให้หมุน
     พระธรรมที่ทรงประกาศ คือ ธรรมอันให้เห็นแจ้งความจริงอย่างยิ่งสี่ประการ สี่ประการ นั้นคืออะไร ได้แก่ ความจริงอย่างยิ่ง คือ ทุกข์ ความจริงอย่างยิ่งคือเหตุของทุกข์ ความจริง อย่างยิ่งได้แก่ การดับทุกข์ทั้งสิ้น และความจริงอย่างยิ่ง คือ ทางที่ไปถึงความดับทุกข์นั้น
     ดูก่อนภราดา ความจริงอย่างยิ่ง คือ ทุกข์นั้นอย่างไร ได้แก่ ความเกิดมานี้เป็นทุกข์ ความชีวิตล่วงไป ๆ เป็นทุกข์ ความเจ็บป่วยเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความอาลัย ความคร่ำครวญ ความทนลำบาก ความเสียใจ และความคับใจ ล้วนเป็นไม่ได้ สมประสงค์ เป็นทุกข์ รวมความบรรดาลักษณะต่าง ๆ เพื่อความยึดถือผูกพันย่อมนำทุกข์มาให้ทั้งสั้น ดูก่อนภราดา นี่แหละความจริงอย่างยิ่งคือทุกข์
                                                                                                       (เสฐียรโกเศศนาคะประทีป)
ตัวอย่าง  เทศนาโวหารแบบร้อยกรอง
          แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์             ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
          มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน                ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน
บิดามารดารักมักเป็นผล
          แม้นใครรักรักมังชังชังตอบ               รู้อะไรใดไม่สู้รู้วิชา
                                                                                                                                 (พระอภัยมณี)
คำประพันธ์นี้ มาจากเรื่องพระอภัยมณี เป็นการสอนหลักในการคบคน รู้จักพึ่งตนเอง รู้จักการใฝ่หาความรู้ และการรักษาตัว
๔. อุปมาโวหาร
คือ การใช้โวหารเปรียบเทียบ ประกอบข้อความ เพื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้เข้าใจเรื่องราวได้แจ่มแจ้งการใช้อุปมาโวหาร
นี้มีลักษณะการใช้หลายลักษณะ ดังนี้
ก. เปรียบเทียบสิ่งที่เหมือนกันสองสิ่ง มักมีคำว่า เหมือน ดุจ คล้าย เปรียบอย่าง ดัง ฯลฯ เป็นตัวเชื่อมคำอุปมาอุปไมยให้สอดคล้อง
กัน (อุปไมย แปลว่า ที่กล่าวก่อน อุปมา แปลว่า ที่กล่าวเปรียบ) เช่น   ดีใจเหมือนได้แก้ว       เล่าปี่ดีใจเหมือนปลาได้น้ำ
ข. เปรียบเทียบโดยการโยงความคิดจากสิ่งหนึ่งไปยังสิ่งหนึ่ง เป็นการเปรียบโดยนัย ต้องอาศัยการตีความประกอบ
เช่น        ครูเหมือนเรือจ้าง           ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังไทยทั้งชาติ

ค. เปรียบเทียบโดยการซ้ำคำ
เช่น    จะมารักเหากว่าผม จะมารักลมกว่าน้ำ จะมารักถ้ำกว่าเรือน       จะมารักเดือนยิ่งกว่าตะวัน จะมารักตัวออกเฒ่ายิ่งกว่าตัวเองเล่า
ง. เปรียบเทียบโดยการยกตัวอย่างประกอบ
เช่น    พระราชา ๑ หญิง ๑ ไม้เลื้อย ๑ ย่อมรักผู้คนและสิ่งที่อยู่ใกล้ ๆ
จ. เปรียบความขัดแย้งหรือเปรียบสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม คือ การนำสิ่งที่ตรงกันข้าม มาเปรียบกัน เช่น เปรียบน้ำกับไฟ ดินกับไฟ อิเหนากับจรกา ฯลฯ
เช่น    ถึงตัวไกลใจอยู่เป็นคู่ชื่น       ผู้ที่มีเพื่อนมากคือผู้ที่ไม่มีเพื่อนเลย
 ฉ. เปรียบเทียบโดยใช้ชื่อเทียบเคียง
 เช่น    ปากกามีอำนาจกว่าคมดาบ      จากเปลไปถึงหลุมฝังศพ
ตัวอย่าง     อุปมาโวหารในคำประพันธ์ร้อยกรอง
                 ผีเสื้อเหลือจะอด                              แค้นโอรสราวกับไฟไหม้มังสา
              
  ช่างหลอกหลอนผ่อนผันจำนรรจา      เเม้นจะว่าโดยดีมิเห็นฟัง
                                                      
                                                                            (จาก พระอภัยมณี ตอน หนีนางผีเสื้อ ของสุนทรภู่)
๕. สาธกโวหาร
คือ โวหารที่ยกตัวอย่างมาประกอบข้อความ เรื่องราวให้เข้าใจ แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น อาจเป็นการกล่าวอ้างถึงเรื่องจริง นิทานที่เป็นที่รู้จักกันดีมาประกอบก็ได้
 ตัวอย่าง สาธกโวหารแบบร้อยแก้ว
เมื่อเราซื้อสิ่งอันใหม่ เรามักยังคงจำของชิ้นเก่าที่มีคุณภาพดีได้ เเละเมื่อเราซื้อเสื้อผ้าชุดใหม่หรือรองเท้าคู่ใหม่ เรามักจะรู้สึกว่า
มันใส่ไม่สบายเท่าของเก่าของเรา
ตัวอย่าง   สาธกโวหารแบบร้อยกรอง
เป็นมนุษย์สุดดีที่ทำชอบ
จงประกอบกรรมดีไว้ไม่สูญหาย
มีเรื่องจะทำดีได้มากมาย
อย่าเหนื่อยหน่ายท้อใจใฝ่ทำดี
วีรชนของไทยใจกล้าหาญ
ได้ต่อสู้ศัตรูพาลสมศักดิ์ศรี
แม่ย่าโมท้าวสุรนารี
ยอดสตรีนามระบือลือทั่วไทย
                                                                                  (สุจริต เพียรชอบ)

     คำประพันธ์นี้ กล่าวถึงความตั้งใจในการทำความดีและความกล้าหาญ โดยยกท้าวสุรนารี ขึ้นมาเป็นตัวอย่าง
    แต่งโดยนางสุจริต เพียรชอบ
     สรุป
      การใช้โวหาร คือ การแสดงข้อความในทำนองต่าง ๆ เพื่อให้ข้อความนั้นได้เนื้อความดี
อ้างอิง



         




         
      





ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
บิดามารดารักมักเป็นผล
เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี